พรบรถยนต์ออนไลน์ บริการต่อภาษีรถยนต์ จัดส่งฟรี

โปรแกรม คำนวณภาษีรถยนต์ ซื้อพรบรถยนต์โปรโมชั่น พรบราคาถูกซื้อ พรบรถยนต์ออนไลน์ชำระเงิน ค่าพรบรถยนต์ยืนยันการชำระเงิน ค่าพรบรถติดต่อสอบถามข้อมูล พรบ.รถยนต์
ประกันภัย พรบรถยนต์ ราคาถูกซื้อพรบรถยนต์ ติดต่อทางเฟสบุค ติดต่อทางไลน์

พรบรถยนต์ ออนไลน์ www.carrantee.com

 

คำถามที่พบบ่อย (พรบ. / ต่อภาษีรถยนต์)

  1. พ.ร.บ.รถยนต์ ของแต่ละบริษัท ที่มีราคาต่างกัน จะมีผลคุ้มครองต่างกันหรือไม่ ?
  2. พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ?
  3. การ ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ กับ ต่อภาษีรถยนต์ เหมือนกันหรือไม่ ?
  4. การต่อภาษีรถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
  5. ใบ ตรอ. (ใบตรวจสภาพรถยนต์) ใช้กับรถประเภทไหน
  6. ค่าต่อภาษีรถยนต์ แต่ละประเภท ราคาเท่าไร ?
  7. สามารถ ซื้อ พ.ร.บ. และ ต่อภาษีรถยนต์ ล่วงหน้า / ย้อนหลัง ได้ไหม ?

 


 

1. พ.ร.บ.รถยนต์ ของแต่ละบริษัท ที่มีราคาต่างกัน จะมีผลคุ้มครองต่างกันหรือไม่ ?

พ.ร.บ.รถยนต์ ของแต่ละบริษัท ถึงแม้จะมีราคาขายที่แตกต่างกัน แต่ก็มีความคุ้มครองที่เท่าเทียมกันในทุกๆ ด้าน เพราะถูกกำหนดด้วยกฎหมายเดียวกัน โดยมีการควบคุมราคามาตรฐานภายใต้หน่วยงานคปภ. ไม่ให้บริษัทประกันภัย หรือ ตัวแทนนายหน้าประกันภัย ขายเกินราคาที่กำหนด ดังนี้

  • 645 บาท  สำหรับ รถเก๋ง, รถกระบะ 4 ประตู (รถยนต์ส่วนบุคคลนั่งไม่เกิน 7 คน)
  • 967 บาท  สำหรับ รถกระบะบรรทุก ไม่เกิน 3 ตัน
  • 1182 บาท สำหรับ รถตู้ (รถยนต์ส่วนบุคคลนั่งเกิน 7 คน)

2. พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ?

พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นเอกสารที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เพื่อช่วยคุ้มครอง ค่าความเสียหายต่างๆ กับผู้ที่ประสบภัยจากรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่บาดเจ็บ รวมถึงค่าปลงศพ ในกรณีที่เกิดเสียชีวิต นอกจากนี้ พ.ร.บ.รถยนต์ ยังรวมไปถึงการคุ้มครอง ในส่วนของการเบิกค่าเสียหายเบื้องต้น โดยที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ซึ่งมีรายละเอียด ความคุ้มครอง (โดยสรุปย่อๆ) ได้ดังต่อไปนี้

  • พ.ร.บ.รถยนต์ จะคุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาลโดยรวม จ่ายให้ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อคน
  • ในกรณีที่เสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร พ.ร.บ.รถยนต์ จ่ายให้ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อคน
  • สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ไม่เกิน 30,000 บาท
  • สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้ไม่เกิน 35,000 บาท ในกรณีที่เสียชีวิต และ ทุพพลภาพอย่างถาวร

3. การ ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ กับ ต่อภาษีรถยนต์ เหมือนกันหรือไม่ ?

เอกสารทั้ง 2 อย่างนี้ ไม่เหมือนกัน ทำหน้าที่ต่างกัน แต่ใช้งานควบคู่กัน

  • พ.ร.บ.รถยนต์ จะใช้คุ้มครองค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากรถยนต์ (ลักษณะของใบเอกสาร จะปริ้นท์อยู่บนกระดาษขนาด A4 ขอบข้างมีแถบสีเงิน) ซึ่งเป็นเอกสารจำเป็น ที่ใช้ในการ "ต่อภาษีรถยนต์" ประจำปี ถ้าไม่มีใบ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่ออายุของป้ายภาษีรถยนต์ได้

  • ป้ายภาษีรถยนต์ เป็นเอกสาร ที่แสดงให้เห็นถึงการต่อภาษีรถประจำปี อย่างถูกต้องกับทางกรมขนส่ง ตาีมที่กฎหมายได้กำหนดไว้ โดยแผ่นป้ายภาษีรถยนต์ จะมีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ซึ่งมักติดอยู่ที่กระจกรถ

  • (ภาพตัวอย่างระหว่าง พ.ร.บ.รถยนต์ และ ป้ายภาษีรถยนต์)

      ภาพตัวอย่าง พ.ร.บ.รถ   ภาพตัวอย่าง ป้ายภาษีรถ  
      พ.ร.บ.รถยนต์   ป้ายภาษีรถยนต์  


    4. การต่อภาษีรถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

    ในการต่อภาษีรถยนต์ หรือ การชำระค่าภาษีรถยนต์ ประจำปีนั้น เอกสารหลักๆ ที่จะต้องใช้มีอยู่ 3 อย่างด้วยกันคือ


    1. สมุดคู่มือจดทะเบียน หรือ สำเนารายการจดทะเบียน
    2. พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ (วันหมดอายุ ต้องเหลือมากกว่า 90 วัน)
      >> ต่ออายุพรบ. ได้ที่นี่
    3. ใบ ตรอ. หรือ ใบตรวจสภาพรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี รวมถึง รถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส)
      เล่มคู่มือจดทะเบียน   สำเนารายการจดทะเบียน  
      เล่มคู่มือจดทะเบียน   สำเนา หน้ารายการจดทะเบียน  


    5. ใบ ตรอ. (ใบตรวจสภาพรถ) ใช้กับรถประเภทไหน

    ตรอ ตรวจสภาพรถเอกชน

    ใบตรอ. คือ ใบตรวจสภาพรถ ที่ออกโดย สถานตรวจสภาพรถเอกชน (สัญลักษณ์กลมๆ มีรูปฟันเฟือง สีเหลืองๆ เขียนคำว่า ตรอ.) เป็นเอกสารที่ใช้แนบในการ ต่อภาษีรถยนต์ประจำปี สำหรับรถที่อยู่ในเงื่อนไขดังนี้

    1. รถยนต์ที่มีอายุ เกิน 7 ปี ขึ้นไป
    2. รถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์) ที่มีอายุ เกิน 5 ปี ขึ้นไป
    3. รถที่ขาดต่อภาษี หรือ จ่ายภาษีล่าช้า เป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี
    4. รถที่มีการติดตั้งใช้งานระบบแก๊ส (LPG , NGV)


    6. ค่าต่อภาษีรถยนต์ แต่ละประเภท ราคาเท่าไร ?

    การต่อภาษีรถยนต์ หรือ การชำระค่าภาษีรถยนต์ ประจำปีนั้น จะคิดคำนวณจาก ประเภทรถยนต์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้


    ประรถยนต์ส่วนบุคคลนั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง, รถกระบะ 4 ประตู)

    • คำนวณจาก ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) และ อายุรถ
    • (อายุรถมากขึ้น ค่าภาษีรถที่ต้องจ่ายในแต่ละปีก็จะถูกลง โดย 5 ปีแรก จะต้องจ่ายค่าภาษีราคาเต็ม แบบไม่มีส่วนลด พอปีที่ 6 ถึง ปีที่ 10 ค่าภาษีจะถูกลงเรื่อยๆ ลดลงไปปีละ 10% )

    ประเภทรถกระบะบรรทุก (รถกระบะ 2 ประตู)

    • คำนวณจาก น้ำหนักรถ (กิโลกรัม)

    ประรถยนต์ส่วนบุคคล นั่งเกิน 7 คน

    • คำนวณจาก น้ำหนักรถ (กิโลกรัม)

    >> กดที่นี่ เพื่อใช้โปรแกรมช่วย คำนวณค่าภาษีรถยนต์ <<



    7. ซื้อ พ.ร.บ. และ ต่อภาษีรถยนต์ ล่วงหน้า / ย้อนหลัง ได้ไหม ?

    พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่สามารถซื้อคุ้มครองย้อนหลังได้ แต่สามารถซื้อและกำหนดวันคุ้มครองล่วงหน้าได้ (ไม่เกิน 90 วัน)


    ส่วน การต่อภาษีรถยนต์ สามารถต่อย้อนหลังได้ (กรณีที่จ่ายล่าช้า) จะโดนค่าปรับโดยคิดเป็น ร้อยละ 1 ต่อเดือน จากค่าภาษีรายปีที่ต้องจ่าย เช่น ค่าภาษีรถปีละ 1500 บาท จะโดนค่าปรับล่าช้า เดือนละ 15 บาท (แต่ถ้าขาดต่อเป็นระยะเวลาเกิน 3 ปี จะถูกยึดเลขทะเบียน ต้องติดต่อกับทางกรมขนส่ง เพื่อยื่นเรื่องทำป้ายทะเบียนใหม่) และสามารถ ต่อภาษีล่วงหน้า ได้ไม่เกิน 90 วัน

     

    กลับสู่ด้านบน